อาหารเพื่อสุขภาพ หมายถึง ?


อาหารเพื่อสุขภาพ หมายถึง อาหารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย นอกเหนือจากสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้อาจช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพ ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านการวิจัยและเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นมูลค่ามาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับอาหารและสุขภาพมากขึ้นจึงทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ เช่น การเสริมวิตามิน,เส้นใยและกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ดังนั้นเราต้องใส่ใจในเรื่องการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ การรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง วิถีชีวิตในสังคมปัจจุบัน มีแต่ความรีบเร่งมากขึ้น จนไม่ค่อยมีเวลาที่จะให้ความสำคัญกับเรื่อง ความสมดุลของอาหารที่รับประทานรวมทั้งค่านิยมการรับประทานอาหารแบบตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ไขมัน นม เนย เป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนไทยมีโรค ซึ่งเกิดจากการกินดีเกินไป เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับความเสื่อมของหลอดเลือด ชาวตะวันตกเริ่มตระหนักถึงพิษภัยของการกินอาหาร ซึ่งไม่สมดุลได้มีการชักชวนให้ลดการรับประทาน เนื้อสัตว์ นม เนย ให้เพิ่มการรับประทาน พืช ผัก และธัญพืช ซึ่งอุดมด้วยเส้นใยจากธรรมชาติ และวิตามิน สำหรับวัยเด็ก นมและเนื้อสัตว์ ยังเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากร่างกายมีการเจริญเติบโตในวัยผู้ใหญ่ร่างกายต้องการโปรตีนลดลง การรับประทานเนื้อสัตว์ และนมมากเกินไปยังทำให้ร่างกายได้รับไขมันเพิ่ม เนื่องจากในเนื้อสัตว์และนมจะมีปริมาณไขมันค่อนข้างสูง นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์มาก ๆ มีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สงูควรเปลี่ยนแปลงมารับประทานโปรตีนจากพืชพวกถั่วแทนกลุ่มอาหารที่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป คือ น้ำตาล พบว่าน้ำตาลทำให้หลอดเลือดมีความเสื่อมเร็วขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงจะพบว่าหลอดเลือดแก่ก่อนวัย ไขมันก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรจำกัด และใช้น้ำมันจากพืชแทน น้ำมันจากสัตว์ ยกเว้นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีโคเรสเตอรอลสูง อาหารที่คสรรับประทาน ผัก ผลไม้ ธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เพราะอุดมไปด้วย กากใยธรรมชาติ วิตามิน และเกลือแร่

โจ๊กหมู อาหารเช้า ง่ายๆได้ประโยชน์





อาหารเช้า โจ๊กหมู

โจ๊กหมู จะมีปลายข้าว รำข้าว ถ้าเยอะไปก็ทำให้หิวเร็วได้เช่นกัน เพราะมันคือ แป้งที่ทำให้เราหิวเร็วได้ ส่วนสิ่งที่ควรจะทานคู่กับโจ๊กหมูคือ ขิง และต้นหอม เพราะขิงจะช่วยระบบเผาผลาญในร่างกาย และทำให้ไม่รู้สึกเลี่ยน ต้นหอม ช่วยในเรื่องลดไขมัน และควบคุมน้ำตาล

ประโยชน์ของโจ๊กหมู หากเราเลือกโจ๊กที่ทำจากปลายข้าวแท้ๆ แล้วผสมจมูกข้าวลงไปด้วย มันจะทำให้เราได้วิตามินอี (Vitamin E) และ แกมมา ออริซานอล (Gamma-Orizanal) ซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่มีในข้าว หรือรำข้าว และถ้ายิ่งได้โจ๊กที่ทำจากข้าวกล้องงอกจะยิ่งดีมาก เพราะมันจะมี กาบา (Gaba) ที่ทำให้สมองร่าเริง ดังนั้นถ้าเลือกได้ก็ควรเลือกซื้อโจ๊กที่ใช้ข้าวที่มีประโยชน์เหล่านี้ แต่ถ้าหาซื้อลำบาก หาได้เป็นโจ๊กข้าวขาวธรรมดา ก็ไม่ต้องซีเรียส ลองพยายามลดความเสี่ยงจากการได้แป้ง กับน้ำตาลเยอะ โดยเน้นทานผักเยอะๆ และไม่ต้องปรุงรสให้หวานขึ้น หรือเค็มขึ้น

คำแนะนำ อย่ากินโจ๊ก คู่กับปาท่องโก๋ เพราะนั่นคือการนำแป้งมาจิ้มแป้ง และหากโจ๊กนั้นใส่หมูสับแล้ว ก็ไม่ต้องใส่เครื่องในหมูเข้าไปอีก เพราะเครื่องในเป็นแหล่งของกรดยูริค ที่ทำให้เกิดเก๊าท์ และในตัวโจ๊กก็ทำจากน้ำต้มกระดูก ซึ่งมีกรดยูริคมากอยู่แล้ว หากเราใส่เครื่องในเข้าไปอีกมันก็จะได้กรดยูริคมากเกินไป แถมยังได้คอเลสเตอรอล (Cholesterol) มากเกินไปด้วย เพราะหมูสับก็มีคอเลสเตอรอลอยู่แล้ว หากใส่เครื่องในอีกก็อาจจะทำให้เราได้คอเลสเตอรอลในมื้อนั้นมากเกินไป